การประยุกต์ใช้เครื่องสร้างฟองอากาศขนาดไมครอนในการล้างทำความสะอาดน้ำมันไบโอดีเซล

Using of Microbubbles Generator for Biodiesel Purification

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีการประยุกต์ใช้เครื่องสร้างฟองอากาศขนาดไมครอนในการล้างทำความสะอาดน้ำมันไบโอดีเซลที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยปฏิกิริยาทางเคมี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดสิ่งตกค้างและลดค่า pH ของน้ำมันให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ ทำการศึกษาโดยการสเปรย์น้ำล้างแบบธรรมดาใน 2ลักษณะ คือ แบบแขวนและจม และระยะเวลาในการวางทิ้งไว้ให้เกิดการแยกชั้นนาน 10, 20 และ 30 นาที ทำการล้างน้ำมันซ้ำจำนวนหลายครั้ง และทำการตรวจสอบค่า pH ของน้ำมันที่ได้ พบว่าลักษณะการสเปรย์น้ำไม่มีผลต่อการลดลงของค่า pH ของน้ำมัน การล้างในครั้งแรกและวางไว้นาน 30 นาที ทำให้เกิดการลดลงของค่า pH อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การล้างมากกว่า 1 ครั้ง ระยะเวลาในการวางทิ้งไว้ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า pH อย่างไรก็ตามน้ำมันที่ผ่านการล้างด้วยน้ำธรรมดาจำนวน 6 ครั้งยังคงมีสภาวะเป็นด่าง เมื่อนำเครื่องสร้างฟองอากาศขนาดไมครอนที่ควบคุมขนาดของฟองโดยใช้ถังความดันในการสร้างน้ำที่ผสมฟองอากาศขนาดไมครอนสำหรับนำใช้ล้างน้ำมันไบโอดีเซล โดยใช้ความดันที่แตกต่างกัน ได้แก่ 0, 2, 4 และ 6 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร พบว่าการสเปรย์น้ำที่ผสมฟองอากาศขนาดไมครอนที่ผลิตโดยใช้ความดัน 4 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ทำให้ค่าพีเอชของน้ำมันลดลงได้มากที่สุด สามารถทำให้น้ำมันมีค่า pH เป็นกลางโดยใช้จำนวนครั้งในการล้างเพียง 2 ครั้ง ในขณะที่ค่า pH ของน้ำหลังจากล้างจะมีค่าสูงที่สุด ส่วนพลังงานไฟฟ้าที่ใช้สำหรับเครื่องสร้างฟองอากาศขนาดไมครอนมีค่าใกล้เคียงกันในทุกระดับความดันที่ใช้

 

คำสำคัญ :  ล้างน้ำมันไบโอดีเซล, เครื่องสร้างฟองอากาศขนาดไมครอน, ไมโครบับเบิ้ล

 

Abstract

         This research was related to apply the microbubble generator to purify the crude biodiesel that was synthesized from the chemical reaction which aim to remove some impurities and decrease the biodiesel pH for diesel engine. The study was performed with water spray from 2 positions which was from the top and bottom of biodiesel chamber, the separation of the biodiesel and water was allowed by placing for 10, 20 and 30 mins, the biodiesel were cleaned in several times and the biodiesel pH were detected. It was found that there was no effect of water spray position on biodiesel pH. For the first time cleaning, placing biodiesel for 30 mins caused to decrease the pH significantly. While, more than one time biodiesel cleaning with every placing time has no effect on biodiesel pH. However, biodiesel that was cleaned with water spray for six times were still base. The microbubble generator was applied to produce the microbubble water for biodiesel cleaning using pressure tank to control the microbubble size with the pressure at 0, 2, 4 and 6 Kg/cm2. It was revealed that the biodiesel that was cleaned with 4 Kg/cm2 of pressure treated microbubble water had the lowest pH and was able to neutralize pH after cleaning only two times, whereas the pH of microbubble water after cleaning was the highest. The electric power used for the microbubble generator was similar at all pressure levels.

 

Keywords :  biodiesel purification, microbubble generator, microbubble


พิมพ์